หน่วยที่ 13 การแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
1. สาระสำคัญ
ในปัจจุบันประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจึงส่งผลให้ประเทศมีความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรกรรม ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคขนส่ง ประกอบกับการผลิตพลังงานภายในประเทศ ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ทำให้ประเทศต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ประกอบกับความต้องการใช้พลังงานของโลกที่เพิ่มขึ้น การเก็งกำไร สถานการณ์ความมั่นคง และปริมาณสำรองพลังงานของโลกลดลง จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
ส่วนการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นแนวทางหรือกระบวนการต่าง ๆ ที่จะ
ทำให้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ดำรงอยู่ในภาวะที่สมดุล เป็นการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพ แวดล้อม รวมทั้งเป็นแนวทาง ที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ สามารถอำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์ได้สูงสุด
2. สมรรถนะประจำหน่วยการเรียนรู้
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม สามารถจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมได้
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานได้
2. อธิบายการแก้ไขด้านสิ่งแวดล้อมได้
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 13
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. สาเหตุหลักของการขาดแคลนพลังงานในประเทศไทย ได้แก่ข้อใด
ก. การเพิ่มขึ้นของประชากร
ข. การเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
ค. การผลิตพลังงานภายในประเทศไม่เพียงพอ
ง. การใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ใช้เกินความจำเป็น
2. วิธีการประหยัดน้ำมัน ข้อใด ไม่ถูกต้อง
ก. ตรวจวัดลมยางเป็นประจำ
ข. ควรเร่งเครื่องยนต์ขณะเกียร์ว่าง
ค. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด
ง. ควรมีการวางแผนการเดินทางล่วงหน้า
3. ข้อใด ไม่ควรปฏิบัติ
ก. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส
ข. ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่เลือกขับที่ความเร็ว 70 – 80 ก.ม./ชม.
ค. ดูฉลากแสดงประสิทธิภาพให้แน่ใจทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า
ง. เก็บเอกสารและวัสดุที่ไม่จำเป็นในการใช้งานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ เพื่อลดการ
สูญเสียพลังงาน
4. ในการทาสีอาคาร ข้อใดกล่าวได้ ถูกต้อง
ก. ใช้สีเข้มในการทาผนังภายในและภายนอกอาคาร
ข. ใช้สีอ่อนในการทาผนังภายในและภายนอกอาคาร
ค. ใช้สีเข้มทาภายนอกอาคาร และใช้สีอ่อนทาภายในอาคาร
ง. ใช้สีอ่อนทาภายนอกอาคาร และใช้สีเข้มทาภายในอาคาร
5. การปิดหน้าจอคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่ใช้งานสามารถประหยัดพลังงานได้เท่าใด
ก. 30 %
ข. 40 %
ค. 50 %
ง. 60 %
6. ข้อใดกล่าวถึงการประหยัดน้ำ ไม่ถูกต้อง
ก. หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ
ข. ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำแทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง
ค. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน
ง. ใช้สบู่ก้อนในการล้างมือ เพราะใช้น้ำน้อยกว่าการใช้สบู่เหลว
7. แนวคิดในการพัฒนาที่ยั่งยืน ควรดำเนินการในข้อใดก่อน
ก. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
ข. การวางแผนการใช้ที่ดินและน้ำ
ค. การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ง. การควบคุมการเพิ่มขึ้นของประชากร
8. ข้อใด ไม่เกี่ยวข้อง กับ 8’R
ก. Reuse
ข. Repair
ค. Review
ง. Recycle
9. การใช้ประโยชน์กลับคืน หมายถึงข้อใด
ก. Reduce
ข. Reclaim
ค. Renewal
ง. Recovery
10. ข้อใดสามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดีที่สุด
ก. การป้องกันกำจัดสารพิษ
ข. การประหยัดการใช้ทรัพยากร
ค. การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ง. การสร้างจิตสำนึกที่ดีให้กับประชาชน
เนื้อหา
1. การแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน มีการรณรงค์ใน 2 ประเด็น คือ
1.1 การประหยัดพลังงาน
1.1.1 วิธีประหยัดน้ำมัน
1. ตรวจตราลมยางเป็นประจำ
2. สับเปลี่ยนยาง ตรวจตั้งศูนย์ล้อตามกำหนด
3. ดับเครื่องยนต์ทุกครั้งเมื่อต้องจอดรถนาน ๆ
4. ไม่ควรติดเครื่องทิ้งไว้เมื่อจอดรถ
5. ไม่ออกรถกระชากดังเอี๊ยด
6. ไม่เร่งเครื่องยนต์ตอนเกียร์ว่างอย่างที่เราเรียกกันติดปากว่า เบิ้ลเครื่องยนต์
7. ตรวจตั้งเครื่องยนต์ตามกำหนด ควรตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ
8. ไม่ต้องอุ่นเครื่อง หากออกรถและขับช้า ๆ ช่วง 1 – 2 กม. แรก เครื่องยนต์จะอุ่นเอง
9. ไม่ควรบรรทุกน้ำหนักเกินพิกัด
10. ใช้ระบบการใช้รถร่วมกัน หรือคาร์พูล (Car pool)
11. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อประหยัดน้ำมัน
12. ไปซื้อของหรือไปธุระใกล้บ้านหรือใกล้ ๆ ที่ทำงาน อาจจะเดินหรือใช้จักรยานบ้าง
13. ก่อนไปพบใคร ควรโทรศัพท์ไปถามก่อนว่าเขาอยู่หรือไม่ จะได้ไม่เสียเที่ยว
14. สอบถามเส้นทางที่จะไปให้แน่ชัด หรือศึกษาแผนที่ให้ดีจะได้ไม่หลงไม่เสียเวลา
15. ควรใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์ อินเตอร์เน็ท หรือใช้บริการส่งเอกสาร แทนการเดินทางด้วยตัวเอง เพื่อประหยัดน้ำมัน
16. ไม่ควรเดินทางโดยไม่ได้วางแผนการเดินทาง
17. หมั่นศึกษาเส้นทางลัดเข้าไว้ ช่วยให้ไม่ต้องเดินทางยาวนาน
18. ควรขับรถด้วยความเร็วคงที่
19. ไม่ควรขับรถลากเกียร์
20. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้น
21. ไม่ควรใช้น้ำมันเบนซินที่ออกเทนสูงเกินความจำเป็นของเครื่องยนต์
22. หมั่นเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ไส้กรองน้ำมันเครื่อง ไส้กรองอากาศ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
23. สำหรับเครื่องยนต์แบบเบนซิน ควรเลือกเติมน้ำมันเบนซินให้ถูกชนิด
24. ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศตลอดเวลา
25. ไม่ควรเร่งเครื่องปรับอากาศในรถอย่างเต็มที่จนเกินความจำเป็น
1.1.2 วิธีประหยัดไฟฟ้า
26. ปิดสวิตซ์ไฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดเมื่อเลิกใช้งาน
27. เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน
28. ปิดเครื่องปรับอากาศทุกครั้งที่จะไม่อยู่ในห้องเกิน 1 ชั่วโมง
29. หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของเครื่องปรับอากาศบ่อย ๆ
30. ตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 25 องศาเซลเซียส
31. ไม่ควรปล่อยให้มีความเย็นรั่วไหลจากห้องที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
32. ลดและหลีกเลี่ยงการเก็บเอกสารหรือวัสดุอื่นใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานในห้องที่มี
เครื่องปรับอากาศ
33. ติดตั้งฉนวนกันความร้อนโดยรอบห้องที่มีการปรับอากาศ เพื่อลดการสูญเสีย
พลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าภายในอาคาร
34. ใช้มู่ลี่กันสาดป้องกันแสงแดดส่องกระทบตัวอาคารและบุฉนวนกันความร้อน
35. หลีกเลี่ยงการสูญเสียพลังงานจากการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ
36. ควรปลูกต้นไม้รอบ ๆ อาคาร
37. ควรปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยบังแดดข้างบ้านหรือเหนือหลังคา
38. ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อช่วยลดความร้อนและเพิ่มความชื้นให้กับดิน
39. ในสำนักงาน ให้ปิดไฟ ปิดเครื่องปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
40. ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศก่อนเวลาเริ่มงาน และควรปิดเครื่องปรับอากาศ
ก่อนเวลาเลิกใช้งานเล็กน้อย
41. เลือกซื้อพัดลมที่มีเครื่องหมายมาตรฐานรับรอง
42. หากอากาศไม่ร้อนเกินไป ควรเปิดพัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ
43. ใช้หลอดไฟประหยัดพลังงาน ใช้หลอดผอมจอมประหยัดแทนหลอดอ้วน ใช้หลอด
ตะเกียบแทนหลอดไส้ หรือใช้หลอดคอมแพคท์ฟลูออเรสเซนต์
44. ควรใช้บัลลาสต์ประหยัดไฟ หรือบัลลาสต์อิเล็กโทรนิกส์ คู่กับหลอดผอม
45. ควรใช้โคมไฟแบบมีแผ่นสะท้อนแสงในห้องต่าง ๆ
46. หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟที่บ้าน เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง
47. ใช้หลอดไฟที่มีวัตต์ต่ำ สำหรับบริเวณที่จำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ทั้ง
48. ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทำงาน หรือติดตั้งไฟเฉพาะจุดแทนการเปิดไฟทั้งห้องเพื่อทำงาน
49. ควรใช้สีอ่อนตกแต่งอาคาร
50. ใช้แสงสว่างจากธรรมชาติให้มากที่สุด
51. ถอดหลอดไฟออกครึ่งหนึ่งในบริเวณที่มีความต้องการใช้แสงสว่างน้อย
52. ปิดตู้เย็นให้สนิท
53. อย่าเปิดตู้เย็นบ่อย อย่านำของร้อนเข้าแช่ในตู้เย็น
54. ตรวจสอบขอบยางประตูของตู้เย็นไม่ให้เสื่อมสภาพ
55. เลือกขนาดตู้เย็นให้เหมาะสมกับขนาดครอบครัว อย่าใช้ตู้เย็นใหญ่เกินความจำเป็น
56. ควรละลายน้ำแข็งในตู้เย็น
57. เลือกซื้อตู้เย็นประตูเดียว
58. ควรตั้งสวิตซ์ควบคุมอุณหภูมิของตู้เย็นให้เหมาะสม
59. ไม่ควรพรมน้ำจนแฉะเวลารีดผ้า
60. ดึงปลั๊กออกก่อนการรีดเสื้อผ้าเสร็จ
61. เสียบปลั๊กครั้งเดียว ต้องรีดเสื้อให้เสร็จ
62. ลด ละ เลี่ยง การใส่เสื้อสูท เพราะไม่เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองร้อน
63. ซักผ้าด้วยเครื่อง ควรใส่ผ้าให้เต็มกำลังของเครื่อง
64. ไม่ควรอบผ้าด้วยเครื่อง เมื่อใช้เครื่องซักผ้า เพราะเปลืองไฟมาก
65. ปิดโทรทัศน์ทันทีเมื่อไม่มีคนดู
66. ไม่ควรปรับจอโทรทัศน์ให้สว่างเกินไป และอย่าเปิดโทรทัศน์ให้เสียงดังเกิน
67. อยู่บ้านเดียวกัน ดูโทรทัศน์รายการเดียวกัน ก็ควรจะดูเครื่อง
68. เช็ดผมให้แห้งก่อนเป่าผมทุกครั้ง
69. ใช้เตาแก๊สหุงต้มอาหาร ประหยัดกว่าใช้เตาไฟฟ้า เตาอบไฟฟ้า
70. เวลาหุงต้มอาหารด้วยเตาไฟฟ้า ควรจะปิดเตาก่อนอาหารสุก 5 นาที
71. อย่าเสียบปลั๊กหม้อหุงข้าวไว้ เพราะระบบอุ่นจะทำงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟ
72. กาต้มน้ำไฟฟ้า ต้องดึงปลั๊กออกทันทีเมื่อน้ำเดือด อย่าเสียบไฟไว้เมื่อไม่มีคนอยู่
73. แยกสวิตซ์ไฟออกจากกัน ให้สามารถเปิดปิดได้เฉพาะจุด
74. หลีกเลี่ยงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องมีการปล่อยความร้อน
75. ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้
76. อย่าเปิดคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ถ้าไม่ใช้งาน
77. ดูสัญลักษณ์ Energy Star ก่อนเลือกซื้ออุปกรณ์สำนักงาน
1.1.3 วิธีประหยัดน้ำ
78. ใช้น้ำอย่างประหยัด หมั่นตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำ
79. ไม่ควรปล่อยให้น้ำไหลตลอดเวลาตอนล้างหน้า แปรงฟัน โกนหนวด และถูสบู่
80. ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ
81. ซักผ้าด้วยมือ ควรรองน้ำใส่กาละมังแค่พอใช้
82. ใช้ Sprinkler หรือฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนการฉีดน้ำด้วยสายยาง
83. ไม่ควรใช้สายยางและเปิดน้ำไหลตลอดเวลาในขณะที่ล้างรถ
84. ไม่ควรล้างรถบ่อยครั้งจนเกินไป
85. ตรวจสอบท่อน้ำรั่วภายในบ้าน ด้วยการปิดก๊อกน้ำทุกตัวภายในบ้าน
86. ควรล้างพืชผักและผลไม้ในอ่างหรือภาชนะที่มีการกักเก็บน้ำไว้เพียงพอ
87. ตรวจสอบชักโครกว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่
88. ไม่ใช้ชักโครกเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร กระดาษ สารเคมีทุกชนิด
89. ใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ
90. ติด Areator หรืออุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อก เพื่อช่วยเพิ่มอากาศให้แก่น้ำที่ไหลออกจากหัวก๊อก
91. ไม่ควรรดน้ำต้นไม้ตอนแดด
92. อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือในแก้วโดยไม่เกิดประโยชน์อันใด
93. ควรใช้เหยือกน้ำกับแก้วเปล่าในการบริการน้ำดื่ม และให้ผู้ที่ต้องการดื่มรินน้ำดื่มเอง
94. ล้างจานในภาชนะที่ขังน้ำไว้ จะประหยัดน้ำได้มากกว่า
95. ติดตั้งระบบน้ำให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเก็บและจ่ายน้ำตามแรงโน้มถ่วงของโลก
1.1.4 วิธีประหยัดพลังงานอื่น ๆ
96. อย่าใช้กระดาษหน้าเดียวทิ้ง ให้ใช้กระดาษอย่างคุ้มค่าใช้ทั้งสองหน้า
97. ในสำนักงานให้ใช้การส่งเอกสารต่อ ๆ กันแทนการสำเนาเอกสารหลาย ๆ ชุด
98. ลดการสูญเสียกระดาษเพิ่มมากขึ้น ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้กระดาษปะหน้าโทรสารชนิดเต็มแผ่นและหันมาใช้กระดาษขนาดเล็กที่สามารถตัดพับบนโทรสารได้ง่าย
99. ใช้การส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์โดยโมเด็ม หรือ แผ่นดิสก์ แทนการส่งข่าวสารข้อมูลโดยเอกสาร ช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ลด การใช้พลังงานได้มาก
100. หลีกเลี่ยงการใช้จานกระดาษ แก้วน้ำกระดาษ เวลาจัดงานสังสรรค์ต่าง ๆ
101. รู้จักแยกแยะประเภทขยะ เพื่อช่วยลดขั้นตอน และลดพลังงานในการทำลายขยะ
102. หนังสือพิมพ์อ่านเสร็จแล้วอย่าทิ้ง ให้เก็บไว้ขายหรือพับถุงเก็บไว้ทำอะไรอย่างอื่น
103. ขึ้นลงชั้นเดียวหรือสองชั้น ไม่จำเป็นต้องใช้ลิฟท์
104. งด เลิก บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วทิ้งเลย
105. ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการทำลาย
106. สนับสนุนสินค้าที่บรรจุภัณฑ์ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาผ่านกระบวนการนำมาใช้ใหม่
107. ให้ความร่วมมือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ
108. กระตุ้นเตือนให้ผู้อื่นช่วยกันประหยัดพลังงาน
1.2 การสำรวจหาแหล่งพลังงานทดแทน
กระทรวงพลังงานจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน ไว้ดังนี้
เป้าหมาย : เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนจากเดิมในพ.ศ. 2545 ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ หรือคิดเป็น 265 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเป็นร้อยละ 8 ของพลังงานเชิงพาณิชย์ หรือคิดเป็น 6,540 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบภายใน พ.ศ. 2554 หรือในอีก 8 ปีข้างหน้า
มาตรการ : กำหนดระเบียบหรือกฎหมายบังคับ Renewable Portfolio Standard (RPS) สำหรับโรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างใหม่ ต้องผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ลม หรือชีวมวล ในสัดส่วนร้อยละ 5 กำหนดมาตรการจูงใจ เพื่อให้มีการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาพลังงานทดแทนที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูง เช่น แสงอาทิตย์ พลังงานน้ำขนาดจิ๋ว ลม และชีวมวล (เศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร และขยะมูลฝอย) และสนับสนุนให้ชุมชนร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน
2. การแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
แนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) หมายถึง การพัฒนาที่จะส่งผลต่อมนุษย์ได้อย่างถาวรและมั่งคง และต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนจะช่วยรักษาความสมดุลของธรรมชาติ และเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยป้องกัน แก้ไข และพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาที่ยั่งยืนควรดำเนินการ ดังนี้
1. การควบคุมการเพิ่มประชากร
2. การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม
3. การป้องกันกำจัดสารพิษ
4. การวางแผนการใช้ที่ดินและน้ำ
5. การประหยัดการใช้ทรัพยากร ทรัพยากรทุกชนิด
6. การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม
6.1 การใช้ประโยชน์จากของเสีย
6.2 การใช้น้ำหมุนเวียน
6.3 การกำจัดน้ำ
6.4 การกำจัดอากาศ
7. ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เหมาะสม
8. การให้การศึกษาแก่ประชาชน
9. นโยบายของรัฐ
บทสรุป
ในปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้พลังงานต่าง ๆ อย่างฟุ่มเฟือย เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี นอกจากนี้ การบริหารจัดการที่ไม่ถูกต้อง ใช้พลังงานอย่างขาดประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการขาดแคลนพลังงาน ซึ่งรัฐบาลได้มีการรณรงค์ให้ประชาชนทุกคนร่วมมือร่วมใจในการประหยัดพลังงาน เช่น การใช้วิธี 108 วิธีการประหยัดพลังงาน ที่จะช่วยลดการใช้พลังงานลง รวมทั้งมีการสำรวจหาแหล่งพลังงานทดแทนเพิ่มเติม ในกระบวนการเสาะหาพลังงานเพิ่มเติมนั้น จะต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมด้วย โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development) นั่นเอง
แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 13
ตอนที่ 1 จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ข้อใดคือสาเหตุของปัญหาการขาดแคลนพลังงานของประเทศไทย
ก. ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ
ข. การผลิตพลังงานภายในประเทศมีไม่เพียงพอ
ค. มีการเก็งกำไร และการลดลงของปริมาณพลังงานสำรองของโลก
ง. ทุกข้อคือคำตอบ
2. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ในปัจจุบันมีการใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น
ข. ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตพลังงานได้อย่างเพียงพอ
ค. สถานการณ์ความมั่นคงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อปัญหาพลังงาน
ง. ในสภาวการณ์ปัจจุบันประชาชนควรร่วมมือกันในการประหยัดพลังงาน
3. ข้อใดไม่ใช่การประหยัดน้ำมัน
ก. ตรวจวัดลมยางเป็นประจำ
ข. เดินทางเท่าที่จำเป็นจริง ๆ
ค. ขับรถด้วยเกียรต์ต่ำเสมอ ๆ
ง. ขับรถที่ความเร็ว 70 -80 ก.ม./ชม.
4. หลอดไฟฟ้าชนิดใดที่ประหยัดไฟ
ก. หลอดผอม
ข. หลอดตะเกียบ
ค. หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
ง. ทุกข้อคือคำตอบ
5. การปฏิบัติในข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. เลือกใช้ตู้เย็น 2 ประตูเพราะเก็บของได้มาก
ข. เลือกใช้บัลลาสต์อิเล็คโทรนิกส์คู่กับหลอดผอม
ค. ควรใช้เตาไฟฟ้าในการประกอบอาหารแทนเตาแก๊ส
ง. เลือกใช้หลอดไฟที่มีวัตต์สูงสำหรับบริเวณที่ต้องเปิดไฟทั้งคืน
6. ข้อใดหมายถึงการนำมาผลิตและใช้ใหม่
ก. Reuse
ข. Reduce
ค. Recycle
ง. Renewal
7. ข้อใดคือมาตรฐานของยุทธศาสตร์การพัฒนาพลังงานทดแทน
ก. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทน
ข. โรงไฟฟ้าที่ก่อสร้างใหม่ต้องผลิตจากพลังงานทดแทนร้อยละ 5
ค. สนับสนุนให้ชุมชนร่วมเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน
ง. ทุกข้อคือคำตอบ
8. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ก. การพัฒนาที่ส่งผลต่อมนุษย์อย่างถาวร
ข. การพัฒนาที่จะช่วยรักษาความสมดุลของธรรมชาติ
ค. การพัฒนาที่มุ่งให้มีการนำทรัพยากรมาใช้ให้มากที่สุด
ง. การพัฒนาที่ไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อม
9. การนำกางเกงตัวเก่ามาตกแต่งใช้ใหม่ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. Reuse
ข. Repair
ค. Reclaim
ง. Renewal
10. ใครคือผู้มีหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ก. องค์การเอกชน
ข. เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ค. นักเรียน นักศึกษา
ง. ประชาชนทุก ๆ คน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น